วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การพัฒนาการกระตุ้นไม้กฤษณา

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ผมได้ทำการกระตุ้นไม้กฤษณาทั้งของตนเองและเพื่อนๆเกษตรกรโดยการใช้สว่านเจาะลำต้นและใส่สารกระตุ้นของผมเอง ลงไปในรูเจาะหลายๆวิธีโดยบ่มทิ้งไว้เป็นเวลา หนึ่งปีครึ่งถึงสองปี สังเกตุพบว่า

1. ต้นที่เจาะด้วยดอกสว่านขนาด 13 มิลลิเมตร

 ระยะห่างต่อรูเจาะ 15 เซนติเมตร โดยใส่สารกระตุ้นเต็มรูเจาะ เมื่อตัดตรวจหลังจากการกระตุ้นไปได้ 18 เดือน จะปรากฏการผุเป็นวงที่บริเวณลำต้น โดยนับจากระดับพื้นได้ประมาณ 120-150 เซ็นติเมตร สาเหตุมาจากการใส่สารที่เป็นของเหลวเข้าไปในรูเจาะโดยตรงและขนาดดอกสว่านที่ใหญ่ ทำให้ในแต่ละรูเจาะนั้นอุ้มปริมาณน้ำยาเป็นจำนวนมาก และน้ำยากระตุ้นมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อต้นไม้รุนแรง การเจาะล้อมลำต้นหลายๆรูแบบนี้จึงทำให้น้ำยาไปรวมกันภายในกลางลำต้นจากกระบวนการคายน้ำของต้นไม้ จึงทำให้เซลตายเป็นวงกว้าง



การสร้างสารกฤษณาจึงเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณรอบๆแผลและรอยผุเท่านั้น แต่ในระดับที่สูงขึ้นไปกว่า 150 เซ็นติเมตรแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่ผุเป็นวงกว้านเช่นนี้ แต่จะเป็นไม้ลูกขาดเสียส่วนใหญหากเป็นไม้ต้นใหญ่ แต่ในกรณีของต้นกฤษณาอายุประมาณ 6-8 ปี จะมีการสร้างสารกฤษณาเป็นแนวยาวไปตามกิ่งก้าน โดยต้นไม้ได้ดูดซับเอาน้ำยาและส่งขึ้นไปตามกิ่งโดยกระบวนการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำ



เมื่อได้ทำการตัดและแปรรูปออกมาแล้ว พบว่า เนื้อไม้ในบริเวณรอยผุและมีการแตกปริของลำต้น จะให้ผลผลิตและคุณภาพของกฤษณาได้ไม่ดีนัก ทั้งในเรื่องของความหนา , สี , รูปทรงและความเข้มข้นของปริมาณเรซินในเนื้อไม้


แต่ในส่วนที่ไม่ผุหรือเหนือขึ้นไปจากรอยผุและไม่มีการแตกปริของลำต้นหรือกิ่งนั้น จะให้ผลผลิตที่ดีกว่า


แต่อย่างไรก็ดี การเจาะด้วยดอกสว่านขนาดใหญ่และใส่สารที่เป็นของเหลวเข้าไปในรูเจาะโดยตรง มักจะให้ผลผลิตออกมาค่อนข้างบางและเป็นรูปทรงหลอด การแปรรูปโดยการใช้สิ่งเหลาและล้วงใส้นั้นทำได้ค่อนข้างยาก จะทำให้มีต้นทุนค่าแรงที่สูง






ข้อดี

- ทำการกระตุ้นได้ง่าย และเร็ว ไม่ยุ่งยาก แค่เจาะและหยอดน้ำยา

ข้อเสีย

- ต้นไม้ผุและเปราะบาง หักง่าย
- ปริมาณผลผลิตไม่สูงเท่าที่ควร
- เสี่ยงต่อการติดเชื้อในธรรมชาติและยืนตาย
- ต้นไม้ต้องมีกิ่งก้านและใบดกจึงจะให้ผลผลิตที่ดี
- รูปทรงของชิ้นไม้ที่ได้ไม่สวยงาม มักจะเป็นแผ่นหรือทรงหลอด
- เก็บบ่มต้นไม้ไว้ไม่ได้นาน เพราะเมื่อเกิดการแตกปริหรือหักของต้นไม้ จะทำให้มีการคืนตัวเป็นเนื้อไม้ได้รวดเร็ว


2. ต้นที่เจาะด้วยดอกสว่านขนาด 6 มิลลิเมตร

ระยะห่างต่อรูเจาะประมาณ 20 เซ็นติเมตร โดยหยอดน้ำยาเต็มรูเจาะ พบว่า ต้นไม่ไม่ผุป็นวงกว้างอย่างที่เจาะด้วยดอกสว่านขนาด 13 มิลลิเมตร การสร้างน้ำมันเป็นไปได้รวดเร็วและใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่าในการเก็บบ่มต้นไม้เพื่อแปรรูป แต่ก็ยังสามารถพบการผุของไส้ไม้ เนื่องจากน้ำยาเป็นของเหลว จึงสามารถถูกส่งขึ้นลงตามจังหวะการคายน้ำของต้นกฤษณา




เนื้อไม้ที่ได้จะมีความหนามากกว่าการเจาะด้วยดอกสว่านขนาดใหญ่ และรูปทรงของไม้เมื่อแกะออกมาแล้ว พบว่ามีปริมาณผลผลิตที่มากกว่าและน้ำหนักเฉลี่ยต่อชิ้นดีกว่า






ข้อดี

- ไม้ไม่ผุเสียหายมาก
- ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก
- ไม้ที่ได้มีรูปทรงที่สวยงามตามที่ตลาดต้องการ ทำให้ได้ราคาขายที่ดีกว่า
- ต้นไม้มีความแข็งแรงกว่าการเจาะด้วยสว่านขนาดใหญ่ และมีความเสี่ยงต่องการตายจากการติดเชื้อน้อยลง

ข้อเสีย

- การหยอดน้ำยาลงในรูเจาะนั้นทำได้ยาก เพราะปากรูเจาะเล็ก มีการหกเลอะของน้ำยา ทำให้บริเวณปากรูเจาะผุเสียหายได้ และหากน้ำยาหกและเลียลงมาตามเปลือกจะทำให้เนื้อไม้บริเวณนั้นตายและแห้งไป ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
- ใช้เวลานานขึ้นในการเจาะและหยอดน้ำยา


3. การเจาะด้วยสว่านและสอดด้วยแท่งไม้ไผ่แช่น้ำยากระตุ้น

วิธีนี้ได้พัฒนามาจากการสังเกตุเห็นการผุจากการหยอดน้ำยาโดยตรงเข้าไปในรูเจาะ จึงได้เปลี่ยนมาใช้ไม้ไผ่แช่น้ำยากระตุ้น แทนการหยอดลงไปในรูเจาะโดยตรง







ผลที่ได้พบว่า การผุเป็นวงของลำต้นไม่ปรากฏให้เห็นอีก และยังสามารถเจาะเพิ่มขึ้นได้อีกหลายแนว ทำให้มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ที่สำคัญ ในแต่ละรูเจาะนั้นได้สร้างเนื้อกฤษณาเป็นปริมาณมากและเนื้อตายนั้นมีน้อยลง ทำให้การแปรรูปโดยใช้สิ่วเหลานั้นทำได้ง่ายขึ้น รูปทรงของผลผลิตก็ใกล้เคียงกับไม้ธรรมชาติ
ทดลองตัดมาตรวจหลังจากทำไว้ 6 เดือน


ในภาพเป็นไม้ที่ได้จากการสอดแท่งไม้แช่น้ำยาขนาด 10 มิลลิเมตร บ่มทิ้งไว้ 1 ปี

ไม้แช่น้ำยาขนาด 4 มิลลิเมตร บ่มไว้ 8 เดือน จากต้นไม้อายุ 4 ปี

ชิ้นไม้ที่ได้จะมีเนื้อที่หนากว่าและผุน้อยกว่าการเจาะแบบหยอดใส่สารมาก

ข้อดี

- สามารถทำได้ตั้งแต่ต่นไม้ยังเล็กๆ อายุประมาณ 3 ปีก็เริ่มทำได้แล้ว โดยเจาะเป็นเกลียวแล้วเก็บบ่มไว้ให้ต้นไม้โตขึ้นจึงเจาะเพิ่มในแนวเนื้อใหม่ รอยเจาะเดิมจะได้เกรดที่ดีขึ้นตามระยะเวลาที่เก็บบ่มต้นไม้
- ต้นไม้ไม่ผุเสียหายมาก
- สามารถเก็บบ่มต้นไม้ไว้ได้นานเท่าที่ต้องการหากต้องการบ่มให้เป็นไม้เกรดสูงๆ
- สามารถเจาะได้มากขึ้น ผลผลิตที่ได้มากขึ้น
- อากาศไม่สามารถเข้ารูได้ ทำให้ไม้มีเนื้อหนาและไม่คืนตัว
- รูปทรงสวยงามและราคาดี ขายได้ง่ายและคล่อง
- การเจาะกระตุ้นทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก
- ที่สำคัญที่สุดคือ คนที่ปลูกไม่มากนักก็สามารถสร้างรายได้จากต้นกฤษณาได้ในรูปของไม้ชิ้น แต่ต้องหัดแปรรูปด้วยตนเองจะดีที่สุด

ข้อเสีย

- ใช้เวลาในการเจาะกระตุ้นค่อนข้างมาก เพราะต้องคอบสอดแท่งไม้เข้ารูเจาะ
- แนวของการสร้างสารจะไม่ยาวเป็นแนวเหมือกับการหยอดน้ำยา
- การแปรรูปโดยการสิ่วนั้นค่อนข้างยากเพราะชิ้นเล็กลงและมียอดเป็นหนามเป็นเตยมากขึ้น



สำหรับผู้ที่สนใจใช้กระบวนการกระตุ้นโดยการใช้แท่งไม้ไผ่ สามารถติดต่อได้ที่

โทรศัพท์ 081-9979389 , 080-7181412 , 089-6012411

หรือ อีเมล  witsawa1@yahoo.com





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น