วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

การลดต้นทุนในการกลั่นน้ำมันกฤษณา

น้ำมันกฤษณานั้นเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าจากไม้กฤษณาที่ไม่เคยเสื่อมความนิยม อีกทั้งในปัจจุบัน ผู้บริโภคแถบตะวันตกอย่างุโรปและอเมริกาได้หันมาใช้น้ำมันกฤษณาในการผลิตน้ำหอมเพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อนมาก ทำให้ผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับการกลั่นน้ำมันกฤษณากันอยู่ แม้ว่าไม้จากธรรมชาติที่เคยใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันจะลดน้อยถอยลงไป แต่ก็ยังคงมีไม้กฤษณาจากสวนป่าที่เกษตรกรปลูกเอาไว้ใช้ทดแทนอีกเป็นจำนวนมาก

แต่สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้ผลิตน้ำมันกษณาก็คือต้นทุนการผลิตและราคาขายน้ำมันที่ไม่ค่อยจะสมดุลกันนัก ทำให้ผู้ผลิตหลายรายเกิดภาวะขาดทุนจนถึงขั้นเลิกกลั่นน้ำมันกฤษณา ทั้งนี้มีปัจจัยมาจากราคาของวัตถุดิบที่สูงแต่ไม่สามารถให้ผลผลิตที่คุ้มค่า และต้นทุนอื่นๆอย่างเช่นค่าเชื้อเพลิง ค่าถาวรวัตถุในการสร้างโรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น

หม้อกลั่นแบบนี้มีราคาสูงมาก และระบบต่างๆก็ลงทุนสูงเช่นกัน


ชุดกลั่นแบบนี้ลงทุนระบบสูงมาก และระบบน้ำหล่อเย็นก็ต้องมีขนาดใหญ่ภายนอกอาคาร


เดิมทีนั้นต้นทุนในการผลิตน้ำมันกฤษณามีดังนี้

- ค่าหม้อกลั่นพร้อมอุปกรณ์ควบแน่น                                    30,000 - 40,000 บาท
- ค่าก่อสร้างโรงเรือน หรือชุดเตาสำหรับวางหม้อกลั่น         20,000                บาท
- ค่าระบบหล่อเย็น                                                                 10,000               บาท
- ค่าอุปกรณ์เชื้อเพลิงเช่นชุดเตาแก๊ส                                     7,000                บาท
- ค่าอุปกรณ์ในการดักเก็บน้ำมัน                                             2,000                บาท
- ค่าวัตถุดิบในการกลั่น (ไม้บด)                                             1,200-4,500     บาท/ชุด

นี่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดก็อยู่ที่ประมาณ         70,200 - 83,500 บาท ต่อ 1 ชุด

ผมจึงได้พยายามทดลองหาวิธีการในการกลั่นน้ำมันกฤษณาเพื่อลดต้นทุนในการผลิต อีกทั้งยังจะช่วยส่งเสริมให้กับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจได้นำมาพัฒนาและทำได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องไปซื้อหาวัสดุราคาแพงเพื่อกลั่นน้ำมันกฤษณา ซึ่งวัสดุที่ผมใช้เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ใกล้ตัวในครัวเรือนดังนี้

- หม้อกลั่นเป็นระบบนึ่ง แยกเป็น
       - หม้อต้มน้ำ ใช้หม้อแขกขนาด 60 ซม.                                      2,600 บาท
       - หม้อนึ่งขนมจีบซาลาเปาขนาด 60 ซม.                                    2,250 บาท
- งวงสำหรับควบแน่น ยาว 160 ซม. จ้างร้านทำสเตนเลสทำให้           600 บาท
- ถังน้ำหล่อเย็น ซื้อถังน้ำพลาสติก 2 ถัง                                              120 บาท
- ปั๊มน้ำหมุนเวียนสำหรับหล่อเย็น ใช้ปั๊มตู้ปลา 2 อัน                            500 บาท
- ชุดเตาแก๊สพร้อมถัง                                                                        5,000  บาท
- ผ้าสำหรับชุบน้ำหล่อเย็น ฟรี หาได้ตามตู้เสื้อผ้า
- ขวดดักเก็บน้ำมัน ฟรี เอาไปให้ร้านกระจกเจาะรูให้
- อุปกรณ์วาล์วและสายยางต่างๆ                                                      200 บาท
- วัตถุดิบ (ไม้บด) ฟรี ผมมีเองครับ หรือจะให้เท่าๆกันก็อยู่ที่          1,200 - 4,500 บาท/ชุด

สรุปต้นทุนอยู่ที่ประมาณ                                        12,470 - 15,770 บาท ต่อ 1 ชุด พร้อมกลั่นได้เลย


ผลที่ได้คือ

น้ำที่หยดอยู่บนพื้นนั้นหกออกมาจากถังครับ ไม่ใช่การรั่วจากขวด

ชุดควบแน่นทำจากระบบตู้ปลา ง่ายและราคาถูก
โดยการปั๊มน้ำขึ้นไปบนผ้าแล้วปล่อยให้ไหลย้อนกลับลงถัง

น้ำมันที่ได้หลังจากเริ่มติดเตากลั่นไปได้ 3 ชั่วโมง

วัตถุดิบที่นำมากลั่นน้ำมัน

ก่อนบดเป็นผง

กากที่เหลือจากการกลั่นจะนำมาทำธูปส่งขายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ธูปหลอดขนาด 6 มม.

ธูปญี่ปุ่นขนาด 2 มม.

ธูปแบบนี้ขายดีมาก

สาเหตุที่ผมเลือกใช้ระบบนึ่งแทนที่การต้มกลั่นก็เพราะในการต้มกลั่นน้ำมันนั้นจะเกิดการสูญเสียน้ำมันส่วนหนึ่งไปกับน้ำในหม้อต้ม แต่การนึ่งนั้น ไอน้ำจะผ่านผงไม้แล้วนำเอาละอองน้ำมันออกมาพร้อมกันโดยไม่ต้องไปแขวนลอยอยู่กับน้ำเช่นการต้ม ทำให้ได้ปริมาณน้ำมันที่มากกว่ากันดดยใช้วุตถุดิบน้อยกว่า คือ ในการต้มกลั่นนั้นใช้ผงไม้ประมาณ 15-20 กิโลกรัม เป็นวัตถุดิบ แต่สำหรับการนึ่งนั้น ใช้ผงไม้เพียงแค่ 7-10 กิโลกรัมเท่านั้น โดยใช้เวลาในการกลั่นต่อชุดประมาณ 3-4 วัน ขณะที่การต้มกลั่นนั้นต้องใช้เวลานาน 1-2 สัปดาห์ ทำให้เกิดการสูญเสียเชื้อเพลิงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

หากผู้ใดสนใจสอบถามเรื่องการกลั่นระบบนึ่งเพื่อนำไปพัฒนาใช้ด้วยตนเอง
สามารถติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ 081-9979389 (+66-81-9979389) วิศวะ  ศรีเพ็ชรกล้า (Witsawa  Sripetkla)
หรือที่อีเมล   witsawa1@yahoo.com 

หากท่านใดสะดวกในการเดินทางก็สามารถเข้ามาชมได้ที่ ศูนย์เรียนรู้เรื่องไม้กฤษณา อ.เวียงชัย จ.เชียงราย  สำนักงานเปิดทุกวัน 8.00-17.00 น. ครับ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น