วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เทคนิคการเพิ่มปริมาณน้ำมันหอมระเหยในพืชสมุนไพร

บทความที่นำมาเสนอนี้เป็นงานวิจัยของ

จีรเดช มโนสร้อย สุชาติ บุญพิสุทธินันท์ และ อรัญญา มโนสร้อย

ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


 
ซึ่งอาจจะมีประโยชน์แก่เกษตรกรผู้ปลูกไม้กฤษณา ในการเพิ่มปริมาณน้ำมันหอมในต้นกฤษณาในแปลงปลูก ผมจึงได้ยกเอางานวิจัยชิ้นนี้มาให้ได้อ่านเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กันครับ
 
http://www.ist.cmu.ac.th/researchunit/pcrnc/paper/seminar/310-318.pdf

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปัญหาหนอนผีเสื้อกินใบกฤษณา

ปัญหาหนอนผีเสื้อกินใบกฤษณา

ช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมานี้ เกษตรกรผู้ปลูกไม้กฤษณาหลายท่านได้ประสบปัญหาหนักใจจากการที่หนอนใยผีเสื้อกลางคืนเข้ากัดกิน ทำลายต้นกฤษณาจนเกลี้ยงต้นเพียงชั่วเวลาข้ามคืน แถมยังระบาดหนักลุกลามไปทั่วประเทศ


ต้นกฤษณาที่ถูกหนอนกินใบส่วนใหญ่จะสามารถฟื้นตัวได้ โดยจะเริ่มแตกใบใหม่อีก 2-3 เดือนต่อมา แต่ในกรณีที่หนอนระบาดหนักนั้น พวกมันจะเข้ากัดกินใบอ่อนที่ผลิใหม่จนเกลี้ยงต้น ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถจะทนได้และยืนตายในที่สุด



ระยะการเข้าทำลายของหนอนชนิดนี้จะระบาดที่สุดในช่วงต้นฤดูหนาว แต่ในที่ผ่านมาจนถึงปีนี้กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมันระบาดหนักทั้งปี และระยะที่รุนแรงที่สุดคือ การระบาดในช่วงฤดูฝน เพราะหากต้นไม้ถูกหนอนกินใบจนหมดต้น รากของต้นกฤษณาจะแช่อยู่ในน้ำและทำให้รากเน่ายืนตาย เพราะไม่มีใบไว้ช่วยคายน้ำ ทำให้รากขาดอากาศตายในที่สุด

การที่ต้นไม้ยืนตายจากสาเหตุของหนอนกินใบหมดต้นนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในต้นไม้ที่เจาะกระตุ้นแล้ว และยังไม่ได้ทำการเจาะกระตุ้น ดังนั้น อย่าได้ไปกล่าวโทษเรื่องการกระตุ้นว่าเป็นสาเหตุของการยืนต้นตายครับ เพราะหากต้นกฤษณาตายจากการกระตุ้นนั้น มันจะต้องตายเพียงแค่ 3 สัปดาห์หลังการกระตุ้น โดยสังเกตุได้จากการขูดเปลือกที่ลำต้น หากเนื้อเยื่อมีจุดราขึ้นใต้เปลือก แสดงว่าต้นกฤษณาต้นนั้นตายแล้ว



สาเหตุของการระบาด

สาเหตุของการระบาดเกิดจากผีเสื้อกลางคืนวงศ์ผีเสื้อหนอนกระทู้ วงศ์ Noctuidae
เป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาผีเสื้อทั้งหมด มีขนาดและ สีสันต่างๆ กันไป ส่วนมากจะมีสีและลายบนปีกคู่หน้าต่างจาก ปีกคู่หลัง หนอนมักมีลายขีดตามยาว รู้จักกันในชื่อ "หนอน กระทู้" ทำลายกล้าข้าวและข้าวโพด ในเวลากลางวันซ่อนตัว อยู่ใต้ดิน ออกกัดกินกล้าพืชในเวลากลางคืน เช่น หนอนกระทู้ ฝักข้าวโพด (Heliothis separata) หนอนกระทู้ ข้าวกล้า (Spodoptera mauritia) หนอนกระทู้อ้อย (Pseudaletia loreyi)หนอนกระทู้หอม (Laphygma exigua)หนอนกระทู้ผัก (Prodenia litura) บางชนิดเป็นศัตรูพืชที่สำคัญในระยะตัวเต็มวัย เช่น ผีเสื้อมวนหวาน (othreis fullonica) ใช้งวงเจาะ ดูดน้ำหวานจากผลส้ม ทำให้ส้มร่วงเสียหายทีละมากๆ




หนอนพวกนี้ ชาวสวนผักรู้จักกันดี ตัวเล็กสีเขียวใช้ใยห่อหุ้มตัวไว้ใต้ใบผัก เวลาตกใจจะดีดตัวลงจากใบ โดยมีใยห้อยลงไป ผีเสื้อมีขนาดเล็ก ปีกค่อนข้างยาว สีคล้ำมีแถบขาวบนปีก ลัษณะคล้ายนกเค้าแมว



วิธีป้องกันการเข้าทำลายต้นกฤษณาจากหนอนกินใบ

วิธีง่ายๆแต่ได้ผลโดยที่ไม่ต้องใช้สารเคมีเป็นพิษใดๆคือการใช้ของง่ายๆที่มีอยู่โดยเตรียมสว่นผสมดังนี้

- น้ำสะอาด 50 ลิตร
- น้ำสกัดจากสะเดา 4 ลิตร
- น้ำตะไคร้ สกัด 1 ลิตร
- ยาเส้นแบบฉุน 1.5 กิโลกรัม
- สบู่ลาย หรือสบู่ด่าง 2 ก้อน

ผสมเข้าด้วยกัน ทิ้งไว้จนสบู่ละลายหมด แล้วกรองเอาแต่น้ำมาฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นกฤษณา โดยเฉพาะที่ใบ เพื่อป้องกันการเข้ามาวางไข่ของผีเสื้อกลางคืน และกลิ่นของมันยังทำให้หนอนไม่กินใบได้อีกด้วย  เพียงแค่นี้ก็หมดปัญหาเรื่องหนอนเข้ามากัดกินใบแล้วครับ อีกทั้งราคาก็ถูกแสนถูก ไม่จำเป็นต้องไปซื้อหาเคมีภัณฑ์ราคาแพงแล้วครับ ช่วยประยัดเงินได้อีกเยอะ